Kyoto University (京都大学)
1.มหาวิทยาลัยที่ไปแลกเปลี่ยน
มหาวิทยาลัยเกียวโต
2.ชื่อ-นามสกุลผู้ไปแลกเปลี่ยน
บิ้ว ทิพภา (รหัสนิสิต 56)
3.เทอม (ฤดู)ที่ไปแลกเปลี่ยน
ฤดูใบไม้ร่วง
4.ช่วงระยะเวลาที่ไปแลกเปลี่ยน
ระยะยาว
ปี 2015-2016
6.โครงการแลกเปลี่ยนอยู่ภายใต้องค์กรใด
ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (MEXT)
7.ได้รับเงินทุนขณะแลกเปลี่ยนหรือไม่ จากองค์กรอะไร
MEXT 120000 เยนต่อเดือน
8. มหาวิทยาลัยโดดเด่นสายอะไร (วิทย์
ศิลป์ กีฬา ฯลฯ)
ไม่แน่ใจ พวกวิทย์ๆ ล่ะมั้ง
อาจารย์ปรัชญาก็ดัง
9. สิ่งที่โดดเด่นหรือประทับใจที่สุดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
คนแปลกๆ 自由な学風
10.กรุณาอธิบายหลักสูตรและตัวอย่างวิชาเรียน
ปีเรามีแต่วิชาบังคับ
แต่เห็นว่าปีหลังๆ มีวิชาเลือกแล้ว วิชาฝึกทักษะทางภาษา ได้แก่ 作文 読解 会話 มีการแบ่งเซคย่อย
อาจารย์จึงดูแลทั่วถึง ชอบที่สอนให้คิดวิเคราะห์ไปพร้อมกัน นอกจากนี้มีวิชา 日本語概念A(ภาษาศาสตร์ญี่ปุ่น)
日本語概念B(ออกแนวประวัติศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น
มีเรื่องวัฒนธรรมแทรกด้วย และมีให้เขียนรายงาน) วิชา 戦後史ยากนะ วิชาวรรณคดีญี่ปุ่น
และมีวิชาที่เรียนรวมกับนักศึกษาญี่ปุ่น 1 วิชา (แต่ปัจจุบันเห็นว่าเพิ่มแล้ว) คือวิชา
日本語演出 (เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น)
วิชาปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนรงบุน
ปีเรามีเรียนวิชาเกี่ยวกับญี่ปุ่นวิชาละคาบถึงสองคาบ
เช่น เศรษฐกิจ จิตวิทยา อุตสาหกรรม การเมือง ชอบคาบนึงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อาหาร วิทยากรมาทำดาชิให้กินในห้อง
ลุ่มลึกอร่อยนัก
11.การทำวิจัย
บังคับ
12.
มีระบบสนับสนุนการทำวิจัยหรือไม่
มีคาบปรึกษาเกี่ยวกับ終了論文ซึ่งอาจารย์ทุ่มเทช่วยเหลือและจริงจังมาก
มีโต๊ะให้คำปรึกษาที่ห้องสมุด
13.อาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้เชี่ยวชาญสายอะไร และตรงกับสายเคงคิวตาม Study
Plan หรือไม่
วรรณคดี
ตรงกับหัวข้อที่ทำเพราะทำเรื่องนิทาน แต่จริงๆ ตาม study plan เป็นเรื่องการศึกษา
14. กิจกรรมประทับใจที่ทางมหาวิทยาลัยหรือของเขตที่อยู่จัดให้
เช่น ทัศนศึกษา Bunkasai
ที่ปาร์ตี้ต้อนรับเด็กแลกเปลี่ยนมีของให้กินฟรีเยอะดี
แถมจัดกันตั้ง 3 ครั้ง สบายกระเป๋าตังแฮ ชอบที่ทางมหาวิทยาลัยพาไปทัศนศึกษาหน่วยงาน
องค์กรต่างๆ เช่น สำนักพิมพ์ ศาล ซึ่งปกติคงไม่ได้ไปเอง
15.
มีระบบบัดดี้ไหม ประทับใจรึเปล่า
มีระบบติวเตอร์หลังจากมาอยู่ได้ซักสองสามเดือนแล้ว
มีอยู่ประมาณสองเดือนแล้วก็หมดช่วงไป
16.
นักเรียนชาติไหนเยอะที่สุด แล้วมีเด็กไทยเยอะไหม
เห็นคนจีนเยอะ ได้ยินภาษาเกาหลีบ่อย
ถ้าโดยรวมทั้งมหาลัยเห็นเขาบอกว่าเด็กไทยลดลงเรื่อยๆ และเด็กไทยมาเรียนคณะทางสายวิทย์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งอยู่อีกแคมปัสหนึ่ง
17.
มีโฮสต์แฟมิลี่ไหม หากมีและได้เข้าร่วมกรุณาอธิบายความประทับใจสั้นๆ
ไม่มี
18.
ชื่อหอพักและราคาหอพักต่อเดือน
มิซาซากิ 11,600
เยน
19.
ภายในหอพักมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้าง
แอร์, ฮีตเตอร์, ตู้เย็นในห้อง, ครัวส่วนตัวในห้อง,
ห้องน้ำส่วนตัวในห้อง, น้ำอุ่น, เครื่องซักผ้าส่วนรวม, โต๊ะเขียนหนังสือ, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าห่ม, หมอน,
เน็ตสายแลน
20.
สิ่งที่ควรจะนำมาด้วยก่อนมาแลกเปลี่ยน
หอที่อยู่ต้องใช้อินเทอร์เนตผ่านสายแลนเท่านั้น
(เหมือนจะมีไวไฟด้วยที่ห้องนั่งเล่นแต่สุดท้ายก็ไม่มีเพื่อนคนไหนใช้ได้เลย) ดังนั้นถ้าโน้ตบุ๊กไม่มีช่องเสียบสายแลนก็อาจจะเตรียมอุปกรณ์เสียบมาด้วย(แต่จริงๆ
ที่นี่ก็มีขาย) อาจจะเอาอะไรที่ไว้ทำอาหารไทยไปด้วยเพื่อไว้ทำให้เพื่อนต่างชาติทาน
แต่จริงๆ ที่นี่ก็มีขาย เตรียมปลั๊กสามตามาก็ดี
21. สภาพแวดล้อมในและรอบๆ มหาวิทยาลัย
เดินทางสะดวก
ไม่ได้อยู่กลางเมือง รถไม่ติด
22.
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ มหาวิทยาลัยหรือหอพักมา 1 ที่
ริมแม่น้ำคาโมะ ไว้นั่งเล่นตอนอากาศไม่หนาว
23.
ทริคในการใช้ชีวิต
กลับบ้านตอนฟ้ายังไม่มืดจะรู้สึกเหงาน้อยกว่าหลังฟ้ามืด
เพราะถ้ายังสว่างอยู่จะมีป้าแถวๆ หอช่วยทักทายให้
ถ้าขัดสนอะไร
เว็บไซต์อเมซอนมีขายทุกสิ่งอัน
ช่วงไหนเห็นคนใส่ชุดเหมือนจะมีงานเทศกาลแถวๆ
หอ มีเสียงกลอง ก็แอบเนียนเดินตามเขาไป บางทีจะไปเจอเขาจัดงานเทศกาลอยู่ซึ่งมีคูปองให้กินฟรี
คุณยายบางคนมาคนเดียวคูปองเหลือก็จะให้คูปองมา แต่ถ้าไม่มีใครให้บางทีก็มีของกินที่แจกให้โดยไม่ต้องเอาคูปอง
24.
การทำงานพิเศษ
ห้ามทำ
25.
อยากบอกอะไรน้องๆ ถ้าจะเลือกม.ของเรา
รู้สึกว่า
หลังจากปีที่ไปจะมีการเปลี่ยนหลักสูตร มีอะไรเพิ่มมาหลายอย่าง
อย่าลืมอ่านข้อมูลที่อัตเดตกว่านี้ประกอบด้วย
ที่นี่อาจารย์ให้ความสำคัญกับการทำวิจัยจริงๆ
อาจารย์จะค่อยประคับประคองให้เราได้ไปในทางที่อยากไปตามสไตล์自由ของมหาลัย
เป็นโอกาสอันดีที่จะได้ลองเขียนเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจ ได้ทำอย่างที่อยาก ได้เขียนสิ่งที่คิด
และได้รู้จักตัวเองมากขึ้น อยากให้ทุกคนมาลองสัมผัสความสนุกที่ได้จากความอิสระเช่นนี้ดู
****************
https://www.kyoto-u.ac.jp/en/
***************
รูปจาก http://journal.jp.fujitsu.com/en/2015/09/16/01/
https://kuiso.oc.kyoto-u.ac.jp/housing/misasagi/ja
http://www.favoru.net/archives/1034434693.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น