OSAKA UNIVERSITY (大阪大学)



1.       มหาวิทยาลัยที่ไปแลกเปลี่ยน
มหาวิทยาลัยโอซาก้า จ.โอซาก้า

2.       ชื่อ-นามสกุลผู้ไปแลกเปลี่ยน
ภัทรสร  (ยิ้ม)
ภริดา​ (มิ้นท์)

3.       รหัสนิสิต
56

4.       เทอม (ฤดู)ที่ไปแลกเปลี่ยน
ฤดูใบไม้ร่วง

5.       ช่วงระยะเวลาที่ไปแลกเปลี่ยน
ระยะยาว ปี 2015-2016

6.       โครงการแลกเปลี่ยนอยู่ภายใต้องค์กรใด
ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (MEXT)

7.       ได้รับเงินทุนขณะแลกเปลี่ยนหรือไม่ จากองค์กรอะไร 
MEXT

8.       ได้รับเงินทุนเท่าไหร่ต่อเดือน
120,000 เยน


9.       อะไรในมหาวิทยาลัยของท่านที่โดดเด่นหรือประทับใจที่สุด (เช่น ภูเขาสวย ราเมงอร่อย มหาวิทยาลัยไฮโซ) 
ภัทรสร : ความพร้อมในการรองรับนักเรียนต่างชาติ และความบ้านนอก

ภริดา​ :  留学生センターที่โปรกับการรับมือเด็กต่างชาติมาก​ เอกสารต่างๆที่ต้องทำที่เขตหรือธนาคารจะมีจนท.พาไป​ หรือรวบรวมใบมาให้ทำที่ม.เลย​ เรื่องกลับประเทศก่อนกำหนดเขาก็เป็นธุระให้หมด​เราแค่แจ้งก็พอ


10.   กรุณาอธิบายหลักสูตรและตัวอย่างวิชาเรียน เช่น วิชาบังคับ วิชาเลือก เคงคิวคอร์ส เคนชูคอร์ส
ภัทรสร : ถ้าไปด้วยทุนมงจะเรียกว่า J Program แบ่งเป็น 研究コース กับ 研修コース ต่างกันที่เคงคิวคอร์สต้องทำวิจัย ส่วนเคนชูคอร์สไม่ต้อง แต่ต้องเขียนเรียงความสั้น ๆ ส่งทุกสัปดาห์ + รายงานส่งท้ายปี เราเรียนเคนคิวคอร์ส
วิชาที่เรียนคือเลือกลงทะเบียนเองได้หมดเลย จัดตารางเรียนเองได้ แบ่งหมวดเป็นวิชาภาษา(日本語実習 น่าจะชื่อนี้ กับวิชา研究 (คือทุกอย่างที่ไม่ใช่ภาษาโดยตรง แบบ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม) ต้องเลือกเรียนขั้นต่ำหมวดละ 6 ตัว วิชาต้องรวมได้ประมาณ 21 ตัว(คาบละ 1.30 ชม.) ต่อทั้งปี + วิชาเคงคิว(คุยกับอ.ที่ปรึกษา) และวิชาเขียนรายงานตอนเทอมสอง
วิชามีหลากหลายล้านแปด ทางภาษาเช่น การฟัง คันจิ การเขียน ล่าม(ญี่ปุ่นอังกฤษ) ทั่ว ๆ ไป วิชาฝั่งเคงคิวก็เช่น วรรณคดีสมัยใหม่ 音声学、言語学、日本史入門、日本伝統芸能入門、 日本の幽霊、くずし字(ตัวอักษรในเอกสารสมัยเอโดะ) มีพวกแนวคิดหลังขบวนการเซนไต หรือเรียนประวัติศาสตร์จากโปสการ์ด ประวัติภาษาญี่ปุ่นด้วย แต่เราไม่ได้ลง"

ภริดา​ :  มีเคงคิวคอร์สกับเคนชูคอร์ส​ เคงคิว​ เน้นทำรายงาน​ หรือรงบุน(เลือกได้​ ถ้าทำรายงานก็อ.ที่ปรึกษา1คนต่อนร.3คน​ จะไม่ซีเรียสเท่ารงบุน  ที่ทำกับอ.1ต่อ1)​ เจออ.ที่ปรึกษาสัปดาห์ละครั้ง​ เทอมแรกเน้นอ่านหนังสือ​ สโคปหัวข้อ​ ถ้าใครอยากเปลี่ยนหัวข้อก็เปลี่ยนได้ตอนนี้นะ​ ตอนจบเทอม1มีให้ตัดสินใจอีกรอบว่าจะเปลี่ยนไปเขียนรงบุน​ หรือรีพอร์ตมั้ย​ (ส่วนเราเลือกทำรีพอร์ตมาตลอด)

เทอม2เริ่มเขียนเป็นเล่ม​ ของคนทำรีพอร์ตจะมีอาจารย์สอนเขียนอีกคนมาช่วยดูให้​ นอกเหนือจากอาจารย์ที่ปรึกษา​ ระวังความเห็นอาจารย์ตีกันแล้วเราจะสับสนมาก55555​ แต่ก็ผ่านมาได้
ส่วนเคนชูคอร์ส​ เน้นทัศนศึกษาและเขียนบันทึกหลังจบแต่ละครั้งที่ไป​ ตอนจบต้องเขียนรายงานเล่มหนึ่งในหัวข้อที่สนใจอะไรก็ได้​ เช่น​ เพื่อนเราเขียนเรื่องหนังสือภาพเด็ก​ มีรุ่นพี่เขียนเรื่องเทะมาริ 
ด้านวิชาเรียนจะมี2แบบคือกลุ่มวิชาสกิล(ฟังพูดอ่านเขียนญี่​ แปลญี่-อิ้ง)​กับวิชาเฉพาะด้าน​ (ภาษา​ วัฒนธรรม​ วรรณกรรม​ ศิลปะ​ สังคม)​ เขาจะกำหนดหน่วยกิตมาให้เราเฉยๆว่าต้องเอาวิชาแบบไหนกี่หน่วยกิตที่เหลือเราก็เลือกเอาตามใจชอบ​ เช่น​ คิดว่าอ่อนคอนเวอร์ก็ไปลงคอนเวอร์เยอะๆได้​ หรือไม่ชอบวรรณกรรม​ก็ไม่ต้องลงมันเลย5555


11.   มหาวิทยาลัยโดดเด่นสายอะไร (วิทย์ ศิลป์ กีฬา ฯลฯ)
ภัทรสร : อันนี้ไม่แน่ใจ... รู้ว่ามีคณะภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีไม่กี่มหาลัย กับมีสาขาพวกโอซาก้าศึกษา

ภริดา : ภาษา? คิดว่าน่าจะภาษานะ555


12.   การทำวิจัย 
ภัทรสร : ไม่บังคับ

ภริดา : บังคับ (ไปแบบซุยเซน / แนะนำผ่านอาจารย์)

13.   มีระบบซัพพอร์ทการทำวิจัยหรือไม่ 
ภัทรสร : มีติวเตอร์ มีคาบเคงคิวให้นั่งคุยกับอ.ที่ปรึกษาทั้งสองเทอม เทอมปลาย(ฮารุ)มีคาบเขียนรายงานให้ด้วย

ภริดา : ติวเตอร์​ คาบเขียนรายงาน

14.   อาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้เชี่ยวชาญสายอะไร และตรงกับสายเคงคิวตาม Study Plan หรือไม่
ภัทรสร : สายวรรณกรรม ไม่ตรงกับเคงคิว

ภริดา : ภาษาศาสตร์​ โดยเฉพาะไวยากรณ์​ โครงสร้างประโยค​ ก็ค่อนข้างตรงกับstudy planที่เราเลือกทำด้านภาษา






15. ชื่อหอพักและราคาหอพักต่อเดือน

ภัทรสร : 留学生会館1号館 (เรียกกันว่า หอหนึ่ง) , 16000 เยนต่อเดือน รวมค่าน้ำไฟและเน็ต

ภริดา : Rooming House​ Kaji จำราคาไม่ค่อยได้น่าจะ28, 000เยนต่อเดือน
 
16. ภายในหอพักมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้าง 

      ภัทรสร : แอร์, ครัวรวม, ห้องน้ำรวม, น้ำอุ่น, เครื่องซักผ้าส่วนรวม, อินเตอร์เน็ต (ไวไฟ), โต๊ะเขียนหนังสือ, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าห่ม, หมอน, ของจากรุ่นพี่, ชั้นวางของ, ตู้รองเท้า, โคมไฟ,หัวแปลงปลั๊ก
อื่นๆ : แม่บ้านทำความสะอาดส่วนกลางวันจันทร์ พุธ ศุกร์

ภริดา : แอร์, ฮีตเตอร์, ตู้เย็นในห้อง, ครัวส่วนตัวในห้อง, ห้องน้ำส่วนตัวในห้อง, น้ำอุ่น, เครื่องซักผ้าส่วนตัวในห้อง, อินเตอร์เน็ต (ไวไฟ), โต๊ะเขียนหนังสือ, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าห่ม, หมอน, ของจากรุ่นพี่

อื่นๆ : ไวไฟของเราต้องเช่านะ  

17.   สภาพแวดล้อมในและรอบๆ มหาวิทยาลัย เช่น อยู่ในเมือง มีภูเขา มีหมีป่า การเดินทางเข้าเมืองสะดวกไหม ฯลฯ
ภัทรสร : อยู่บนเขา อยู่ในแคมปัสที่มีคณะเดียว โรงอาหารเดียว นอกมหาลัยเป็นบ้านคนแบบ 住宅 เงียบมาก คอมบินิใกล้สุดต้องเดินไป 15 นาที(เกือบ 1 กิโล) มีหมูป่า ทานุกิ ลิง แต่เราไม่เคยเจอ ฤดูใบไม้ผลิเป็นต้นไปแมลงจะเยอะ มีไส้เดือนและตะขาบ แหล่งความเจริญที่ที่ใกล้สุดและไปได้ไม่แพงคือ 千里中央 ถ้าจะเข้าเมืองไปอุเมดะหรือนัมบะใช้เวลาประมาณ 1.30 ชม. พอ ๆ กับไปเกียวโตหรือโกเบ

ภริดา ทุ่งนามากมาย​ ม.อยู่บนเนิน​ มีซุปเปอร์​ในละแวกนั้น3ที่​ ถ้าเดินห้าง(ที่ไม่ใช่expocity)​ต้องนั่งบัสออกไป​ ดีตรงที่หอใกล้ม.มากกกเดินได้แม้จะเป็นหอนอกก็ตาม ปีที่เราไปมีexpo cityแล้วชีวิตก็ดีมาก​ เป็นห้างใหญ่ช็อปสะใจ​ นั่งโมโนเรลหลังม.ไปได้เลย

18.   แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ มหาวิทยาลัยหรือหอพักมา 1 ที่


ภัทรสร : 万博記念公園

National Museum of Ethnology - 国立民族学博物館(Minpaku)

ภริดา : Minpaku พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์​​ใกล้กับไทโยโนะโต​/expo city เค้าทำนิทรรศการสวยดีแล้วได้ความรู้ด้วย​ เดินในนั้นได้ทั้งวันนักศึกษาเข้าฟรี

19.   กิจกรรมประทับใจที่ทางมหาวิทยาลัยหรือของเขตที่อยู่จัดให้ เช่น ทัศนศึกษา Bunkasai
ภัทรสร : มีทัศนศึกษาค้างคืน 3 ครั้ง (ต้องจ่ายตังค์หลักพัน) กับทัศนศึกษาวันเดียวกลับ 3-4 ครั้ง ของมหาลัยจัด ทัศนศึกษาค้างคืนดี ได้นอนเรียวกัง มีไปออนเซ็น ปีเราไปฮิเมจิ-นาโอชิมะ ไปคางาวะ(ไปดูคาบุกิ) แล้วก็ไปเกโระออนเซ็น-อินุยามะ

ภริดา : ฮันไดมีทัศนศึกษาให้เยอะมาก​ บางทีก็ได้ไปอ็อนเซ็นพักโรงแรมไฮโซ​ มีอาหารชุดแบบญี่ปุ่น


20.   ระบบบัดดี้ : มหาลัยมีจัดหาให้ไหม ความประทับใจ
ภัทรสร : มีติวเตอร์ มหาลัยจัดให้ เราเลือกเองไม่ได้ ชั่วโมงที่ต้องนักเจอกันคือ 20 หรือไม่ก็ 24 ชม. มีการบ้านก็ให้ช่วยได้ ไปเที่ยวด้วยกันบ้าง

ภริดา : มีติวเตอร์​ เราได้ติวเตอร์ดี​ เค้าจะคอยมาเจอเราทุกสัปดาห์​ ส่วนใหญ่ก็นั่งกินข้าวด้วยกัน​ คุยนู่นนี่​ บางทีก็ให้ช่วยทำการบ้าน​ แล้วก็ไปเที่ยวด้วยกันบ้าง


21.   ปริมาณเด็กต่างชาติ ชาติไหนมีเยอะที่สุด และปริมาณเด็กไทยมากหรือน้อย
ภัทรสร : เยอะ ต่างชาติที่ไม่ใช่ทุนญี่ปุ่นศึกษาก็เยอะ คนจีนเยอะ กับปีเราคนโปแลนด์ก็เยอะ และเด็กไทยก็เยอะเช่นกันเพราะมีเด็กทุนมงใหญ่มาเรียนภาษาที่นี่ด้วย แต่ครึ่งปีหลังที่อยู่มีน้อยลงเยอะเลย

ภริดา : ที่เยอะจะมีจีน​ กับโปแลนด์​ ไทยก็เยอะ555


22.   มีโฮสต์แฟมิลี่ไหม หากมีและได้เข้าร่วมกรุณาอธิบายความประทับใจสั้นๆ
         ภัทรสร : มีโครงการโฮสต์ แต่เราไม่ได้ โฮสต์จำนวนน้อยกว่าเด็กอะ
         เขาน่าจะให้คนที่ไม่เคยมาหรือมาญี่ปุ่นน้อย ๆ ก่อน           
       
        ภริดา : มี​ ได้โฮสต์ใจดีมาก​ เป็นworking womanเคยพาไปเที่ยวโคยะ         ซัง​ จ.วากายามะ​ เทศกาลเด็กผญก็พาเราเที่ยวบ้าน​ ดูตุ๊กตาฮินะและ             สอนทำจิราชิซูชิ​ เมื่อต้นปีนี้เค้าก็มาไทยละมาเจอเราด้วย

23.   สิ่งที่ควรจะนำมาด้วยก่อนมาแลกเปลี่ยน เช่น บัตรเครดิต หมอน
ภัทรสร : บัตรเครดิตที่เป็นชื่อตัวเอง รูปถ่ายติดบัตร มาม่า คอมของตัวเอง

ภริดา : บัตรเครดิต​ ไว้จ่ายค่ามือถือ​ พวกเครื่องใช้อื่นๆไม่ต้องกังวลนะหน้าหอมีโฮมโปร5555


24.   ทริคในการใช้ชีวิต  เช่นการแยกขยะ วิธีรับมือความเหงา วิธีรับมือความหนาวหรือร้อน วิธีประหยัดเงิน ฯลฯ
ภัทรสร : ทำกับข้าวกินเองประหยัดตังค์สุด ข้าวคอมบินิบ่อย ๆ แล้วค่าใช้จ่ายบาน ถ้ามีเพื่อนคนไทยไปด้วย หรือถ้าไม่มีก็หาซะ แนะนำให้ชวนมาทำกับข้าวกินด้วยกัน ทำกับข้าวคนเดียวกินคนเดียวมันเหงามาก ทำใจปลงกับการหาเพื่อนเป็นคนญี่ปุ่นไว้ด้วยก็ดี มันยาก
 ประตูมหาลัยปิดตอนเที่ยงคืน ถ้าไปเที่ยวแล้วกลับมาหลังจากนั้น มันมีรั้วที่เป็นเชือกผูกไว้เฉย ๆ ตรงหลังตึกเซอร์เคิล(ไม่รู้ว่าจะยังอยู่มั้ย ลองถามรุ่นพี่ปีใกล้ ๆ ดู) หรือถ้าจะเลยเที่ยงคืนมาไม่นานมาก บางทียามเขาจะรอ ก็โชคดี

ภริดา : โอซาก้าแยกขยะง่ายมากมีแค่เผาได้กับเผาไม่ได้​ สำหรับrooming houseมันเป็นห้องเดี่ยวต่างคนต่างอยู่​ และต้องดูแลชีวิตตัวเองอ่ะ​ คือค่าน้ำค่าไฟแก๊สจ่ายเอง​ ถ้ามีอะไรพังก็บอกเจ้าของหอ​ ละต้องอยู่เฝ้าช่างซ่อมเอง​ ซึ่งถ้าไม่มายเรื่องการอยู่คนเดียวก็โอเคแหละ

วิธีประหยัดไฟ​ คือไอ้ห้องเราหน้าต่างใหญ่โตและผนังบางทำให้หน้าหนาวหนาวสุดๆ​ จะเปิดดันโบก็เปลืองไฟ​ เลยต้องหาแผ่นเก็บความร้อนมาแปะทั่วกระจกเลย(สั่งได้จากอเมซอนหรือซื้อโฮมโปร)​จะมีทั้งแบบกระดาษและแบบปุจิปุจิ(ไอ้พลาสติกกันกระแทกที่บีบได้อ่ะ5555)​ ละก็ซื้อฮีตเตอร์ตัวเล็กมา​ คำนวนแล้วว่าประหยัดกว่าเปิดดัน​โบ​ มีผ้าห่มไฟฟ้าที่พี่ทิ้งไว้ให้​ด้วย

25.   การทำงานพิเศษ และเงื่อนไข (เช่น ทำกี่วันต่อสัปดาห์ เวลา)
      ภัทรสร : ทุนมงเขาไม่ให้ทำงานพิเศษ แบบทำร้านอาหารงี้ แต่สามารถรับงานเป็นจ็อบ ๆ ส่วนตัวแบบสอนภาษาไทย ล่าม งานพิเศษไทยเฟซงี้ทำได้

ภริดา : จริงๆทำไม่ได้นะแต่เรารับงานแปลมาทำเงียบๆที่ห้องได้​ ทำเดือนละประมาณ1-2งาน


26.   อยากบอกอะไรน้องๆ ถ้าจะเลือกม.ของเรา
ภัทรสร : เราเลือกที่นี่แล้วเราไม่เสียใจเลย เรามีความสุขดีมาก เรียนก็แฮปปี้ แต่ข้อเสียคือไม่ค่อยเจอคนญี่ปุ่น ถ้าเราไม่แสวงหาออกไปข้างนอก แต่ได้พูดญี่ปุ่นนะ กับเพื่อนต่างชาติ 555
 ตอนนี้แคมปัสยังไกลเมืองไปหน่อย แต่มันไม่ได้แย่ขนาดนั้น หอก็อยู่ในแคมปัสเลยแทบไม่เสียเวลาเดินทาง แค่ไปชดเชยเอาเวลาอยากไปเที่ยวในเมืองเท่านั้นเอง แต่ก็อยู่ในทำเลที่อยากไปเมืองโอซาก้าก็ได้ ไปเกียวโตก็ได้ โกเบก็ได้ ได้เที่ยวเยอะเลยแหละ
 มหาลัยจัดกิจกรรมให้เยอะมาก แนะนำว่าไปได้ก็ให้ไป ทุกสิ่งมันจะเป็นประสบการณ์ที่ดีซึ่งอยู่ที่ไทยไม่มีทางได้เจอ หรือมาเที่ยวเองก็ไม่เจอ
สุดท้ายคืออ.ที่นู่นกับอ.ที่คณะเราดูสนิทกันมาก ไปแล้วก็เหลวแหลกโดดเรียนอะไรงี้เยอะ เดี๋ยวเรื่องจะมาถึงอ.เราแน่ ๆ 55
ภริดา : ไม่ต้องกลัวว่าคนไทยเยอะแล้วภาษาญี่ปุ่นจะไม่พัฒนา​ ถ้าพยายามหาเพื่อนต่างชาติและเข้าชมรม​ ก็มีเพื่อนคุยภาษาญี่ปุ่นแน่ๆ​ อ.ใจดีทุกคน​ คุยกับอ.ก็ได้5555​ คนญี่ปุ่นที่นี่ค่อนข้างชินและเข้าใจคนต่างชาติด้วยนะ
ขอให้สนุกกับท้องทุ่งนาและทานูกิ​(ที่ไม่เคยพบตัว)​ สู้ๆ~

www.osaka-u.ac.jp/ja

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รูปภาพจาก : https://ja.wikipedia.org/wiki/大阪大学
http://www.med.osaka-u.ac.jp/
http://www.osaka-u.ac.jp/en/news/topics/2015/06/20150618_01
https://www.pinterest.com/pin/449515606532249298/
https://www.japanvisitor.com/japan-museums/minpaku
http://goinjapanesque.com/13574/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Okayama University (岡山大学)

Hiroshima University (広島大学)

Kokushikan University (国士舘大学)